หนึ่งในปัญหาที่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายหลายคู่ที่กำลังพยายามมีบุตรด้วยกันต้องเจอ นั่นก็คือการตั้งครรภ์แล้วเกิดภาวะแท้งหลายครั้ง ไม่สามารถมีลูกได้สักที  เมื่อสังเกตตัวเองแล้วก็มั่นใจว่าดูแลตัวเองและคู่รักได้เป็นอย่างดี แต่ทำไมเจ้าหนูน้อยก็ยังไม่มา นั่นอาจเกิดจากภาวะ Antiphospholipid syndrome ก็ได้ค่ะ เพราะเป็นภาวะที่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณผู้หญิงตั้งครรภ์แท้งหรือมีลูกยากได้ วันนี้ SAFE Fertility Group เลยขอเชิญชวนคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายมาทำความรู้จักกับภาวะนี้ให้มากขึ้นเพื่อหาทางให้เจ้าตัวน้อยมาอยู่ด้วยกันไวๆ กันค่ะ

Antiphospholipid Syndrome คืออะไร?

Antiphospholipid Syndrome (APS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายตัวเอง โดยร่างกายได้สร้างสารต้าน Phospholipid ออกมาเอง ซึ่ง Phospholipid นี้เป็นส่วนประกอบของเซลล์ที่มีหน้าที่สำคัญในระบบต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายสร้างสารต้านนี้ไปกำจัดก็จะทำให้เซลล์ของร่างกายทำงานผิดปกติหรืออ่อนแอลงนั่นเองค่ะ

อาการของคนที่มีภาวะ Antiphospholipid Syndrome

หากใครที่มีภาวะดังกล่าว เลือดจะแข็งตัวง่ายกว่าปกติ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดงได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งนี้ผลกระทบและความรุนแรงขึ้นอยู่กับว่าลิ่มเลือดที่แข็งตัวนี้ไปอุดตันที่หลอดเลือดของอวัยวะส่วนใดนั่นเองค่ะ

คุณผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Antiphospholipid Syndrome จะมีอาการอย่างไร?

สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะดังกล่าวจะทำให้เกิดการแท้งติดต่อกันหลายครั้ง หรือหากไม่แท้ง ก็สามารถเกิดปัญหาเกี่ยวกับทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะที่ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าอายุครรภ์ หรืออาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ แล้วยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงภาวะครรภ์เป็นพิษได้เช่นเดียวกันค่ะ

รู้หรือไม่? … คุณผู้หญิงมีความเสี่ยงเป็น Antiphospholipid Syndrome มากกว่าคุณผู้ชาย

จากการศึกษาในประเทศไทยพบว่ากลุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะ Antiphospholipid Syndrome คือเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยทำการศึกษาแล้วพบว่าคนที่เป็นภาวะ นี้ 0.5% ซึ่งเป็นผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์มากถึง 70% และเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี 12% อีก 50% ของผู้ป่วยโรคนี้ไม่เคยมีประวัติลิ่มเลือดอุดตันมาก่อน และ 1% ของผู้ป่วยมีอาการของโรคอย่างรุนแรง จากข้อมูลนี้ทำให้ SAFE Fertility Group ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดกรองภาวะดังกล่าว สำหรับการวางแผนมีบุตรในคุณผู้หญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

ใครที่ควรตรวจ Antiphospholipid Syndrome

  • คนที่ตั้งครรภ์แล้วเกิดภาวะแท้งติดต่อกันโดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน
  • คนที่ตั้งครรภ์แล้วทารกเสียชีวิตในครรภ์โดยไม่ทราบสาเหตุมาก่อน
  • คนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease)
  • คนที่เป็นโรคติดต่อบางประเภท เช่น โรคซิฟิลิส
  • คนที่มีประวัติครอบครัวเป็น Antiphospholipid Syndrome หรือภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

เนื่องจากคนที่มีภาวะเหล่านี้หรือมีความเกี่ยวข้องกับคนที่มีความเสี่ยงนั้นมีโอกาสที่จะเป็น Antiphospholipid Syndrome ด้วยเช่นกัน โดยการตรวจนั้นสามารถตรวจได้ทั้งในคุณผู้หญิงที่ยังไม่ตั้งครรภ์และตั้งครรภ์แล้ว

วิธีตรวจ Antiphospholipid Syndrome

การตรวจหา Antiphospholipid Syndrome นั้น ตรวจโดยการเจาะเลือดของคุณผู้หญิงที่วางแผนมีบุตรเพื่อนำไปหาสารต้าน Phospholipid ซึ่งควรตรวจ 2 ครั้ง โดยตรวจห่างกัน 3 เดือน เพื่อให้ทราบผลที่ชัดเจน

Antiphospholipid Syndrome ยังสามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่?

การตั้งครรภ์นั้นจำเป็นต้องอาศัยหลายปัจจัยด้วยกัน การเป็นโรค Antiphospholipid Syndrome นั้นเป็นเพียงแค่ 1 ในปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยาก ซึ่งเมื่อทำการรักษาแล้ว ก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ปกติค่ะ โดยคุณผู้หญิงและคู่รักที่ต้องการมีบุตรนั้นควรได้รับการปรึกษาจากคุณหมอและทำการตรวจคัดกรองเพื่อให้สามารถตั้งครรภ์ในสภาวะครรภ์ปกติมากที่สุดนะคะ

เราจะเห็นได้ว่าภาวะมีบุตรยากนั้นอาจไม่ได้มาจากการดูแลตัวเองไม่ดีพอ แต่สามารถมาจากการการเป็นโรคที่ไม่มีการแสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็นเหมือนโรคทั่วไป เช่น  Antiphospholipid Syndrome นี่เอง ซึ่ง SAFE Fertility Group เราไม่ได้ให้คำปรึกษาเพื่อแนะนำวิธีการดูแลตนเองแก่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายที่ต้องการมีลูกเท่านั้น แต่เรายังช่วยหาสาเหตุของการมีบุตรยากด้วยการตรวจคัดกรองโรค Antiphospholipid Syndrome รวมถึงสาเหตุของภาวะมีบุตรยากอื่นๆ เพื่อหาวิธีให้คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายได้มีเจ้าหนูน้อยมาอยู่ด้วยกันไวๆ ด้วยเช่นกันค่ะ

แหล่งอ้างอิงข้อมูล:

https://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=700

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=948:antiphospholipid-syndrome&catid=45&Itemid=561

เรียบเรียงโดย: ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ SAFE Fertility Group

Recent Posts

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
21/10/2022
SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน

SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน
27/04/2022
อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก

อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก
08/06/2022
SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน

SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน
02/04/2021
จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)

จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)
31/03/2021
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?
15/07/2022
“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?

“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?
17/02/2021
มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)

มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)
01/02/2021
“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้

“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้
10/02/2021
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”
08/02/2021
5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group

5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group
05/02/2021
คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้

คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้
03/02/2021
7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”

7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”
30/01/2021
ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’

ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’
29/01/2021
“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง

“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง
26/01/2021
พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?

พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?
23/01/2021
“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?

“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?
20/01/2021
ทำไมต้อง “ฝากไข่”?

ทำไมต้อง “ฝากไข่”?
17/01/2021
ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation
19/10/2020
ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?
15/10/2020
รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก

รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก
29/10/2020
เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?

เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?
19/10/2020
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy)

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (Data Privacy)
13/07/2020
news

news
18/11/2019

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save