การจะได้เซลล์ไข่ดีๆ เพื่อมาแช่แข็งไว้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตนั้น ไม่เพียงแค่ต้องใส่ใจในขั้นตอนของการเก็บไข่ (OPU) เท่านั้น แต่ต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดขั้นตอนตั้งแต่เริ่มกระบวนการ ซึ่งวันนี้ SAFE Fertility Group เรามี 7 วิธีเตรียมตัวเพื่อให้ได้ไข่ดีๆ สำหรับการแช่แข็งไข่กัน

1. ตรวจเช็คสภาพรังไข่ให้ครบถ้วน

หลายคนมองข้ามไปเลยว่าขั้นตอนแรกที่สำคัญมากของการฝากไข่นั่นก็คือการตรวจสภาพรังไข่ให้ครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจฮอร์โมน เช่น AMH, FSH, LH การตรวจนับฟองไข่ในรังไข่ หรือ AFC รวมถึงการตรวจโรคต่างๆ ที่จำเป็นต่อการประเมินก่อนเก็บไข่ทุกครั้ง

2. กระตุ้นรังไข่ด้วยปริมาณยาที่เหมาะสม

ตัวยา ปริมาณยา ช่วงเวลาฉีดยา ล้วนมีความสัมพันธ์กันและส่งผลต่อการกระตุ้นไข่ทั้งหมด โดยตัวยาและปริมาณยาที่จะใช้กับคุณผู้หญิงแต่ละคนมีความแตกต่างกัน โดยแพทย์จำเป็นต้องวินิจฉัยจากการตรวจสภาพรังไข่อย่างละเอียดก่อนการเลือกตัวยาและปริมาณยาเสมอ

3. อัปเดตสภาพรังไข่กับแพทย์สม่ำเสมอ

ในช่วงกระตุ้นไข่ แพทย์จะนัดคุณผู้หญิงเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของฟองไข่หลังได้รับการกระตุ้นว่าเป็นอย่างไร ซึ่งคุณผู้หญิงควรมาพบแพทย์ตามวันที่นัดเสมอ เพื่อจะได้ทราบว่าไข่เติบโตตามปกติหรือไม่ อีกทั้งเพื่อติดตามและประเมินความเสี่ยงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปนั่นเอง

4. ทานอาหารที่ช่วยบำรุงรังไข่

อาหารจำพวกโปรตีน ไม่ว่าจะเป็น ไข่ขาว ปลา เต้าหู้ ล้วนเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มการเติบโตของไข่ได้ คุณผู้หญิงที่กำลังกระตุ้นไข่ อย่าลืมทานอาหารเหล่านี้เป็นหลักควบคู่ไปกับการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ที่หลากหลาย ย่อยง่าย ไม่หมักดอง หรือสุกๆ ดิบๆ เพื่อส่งเสริมสารอาหารให้กับรังไข่ และเซลล์ไข่

5. ทานวิตามินที่แพทย์แนะนำ

โฟลิค, คิวเทน, วิตามินซี, วิตามินอี เป็นวิตามินที่แพทย์แนะนำให้กับคุณผู้หญิง โดยปริมาณสัดส่วนของวิตามินที่แพทย์เตรียมให้กับคุณผู้หญิงแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม 

6. งดกิจกรรมหนักๆ ไปก่อน

บางครั้งกิจกรรมที่หนักเกินไปสำหรับทั้งร่างกายและจิตใจ อาจสามารถกระทบต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ที่กำลังเติบโตในรังไข่ได้ รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์ 10 วัน ก่อนการเก็บไข่ ใครที่ชอบทำกิจกรรมหนักๆ ลุยๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงสายแอดเวนเจอร์ต้องของดไปก่อนในช่วงที่กำลังกระตุ้นไข่ เพื่อคุณภาพไข่ของเรา

7. เลือกวิธีผ่อนคลายที่เหมาะกับตนเอง

คุณผู้หญิงหลายคนมีความชอบและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ทำให้วิธีผ่อนคลายความเครียด ร่างกาย และจิตใจของแต่ละท่านแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นระหว่างการกระตุ้นไข่ กิจกรรมที่เหมาะกับการผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ช็อปปิ้ง อ่านหนังสือ ดูซีรี่ส์ พร้อมกับนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน

ในช่วงก่อนและหลังการเก็บไข่ เราเข้าใจว่าคุณผู้หญิงอาจมีความเครียดและเกิดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและอารมณ์ได้เสมอ เมื่อเกิดความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น คุณผู้หญิงสามารถแจ้งหรือรับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลส่วนตัวหรือ Personal Assistant จาก SAFE Fertility Group ได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ SAFE Fertility Group ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลคุณและเจ้าตัวน้อยที่จะมาอยู่ด้วยกันในอนาคต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม/ลงทะเบียนรับคำปรึกษา
กับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลส่วนตัว (Personal Assistant) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
• Line@ : @ivfthailand
• Call Center : 02-252-3833-5
• Hotline : 081-102-1000
• Email address : customercare@safefertilitycenter.com

#SafeFertilityCenter #SuccessYouCanTrust #รับปรึกษาผู้มีบุตรยาก #มีบุตรยาก #มีลูกยาก #ศูนย์ผู้มีบุตรยาก #ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก #ศูนย์ผู้มีบุตรยากที่ไหนดี #คลินิกผู้มีบุตรยาก #คลินิกมีบุตรยาก #คลินิกมีลูกยาก #คลินิกรักษามีบุตรยาก #คลินิกมีบุตรยากที่ไหนดี #รักษาผู้มีบุตรยาก #ปรึกษามีบุตรยาก #ปรึกษามีบุตรยากที่ไหนดี #ปรึกษาการมีบุตร #เด็กหลอดแก้ว #ทำเด็กหลอดแก้ว #IVF #ICSI #IUI #IVFClinicThailand

Recent Posts

News

News
26/05/2023
เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
21/10/2022
SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน

SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน
27/04/2022
อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก

อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก
08/06/2022
SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน

SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน
02/04/2021
จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)

จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)
31/03/2021
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?
15/07/2022
“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?

“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?
17/02/2021
มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)

มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)
01/02/2021
“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้

“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้
10/02/2021
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”
08/02/2021
5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group

5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group
05/02/2021
คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้

คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้
03/02/2021
7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”

7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”
30/01/2021
ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’

ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’
29/01/2021
“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง

“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง
26/01/2021
พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?

พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?
23/01/2021
“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?

“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?
20/01/2021
ทำไมต้อง “ฝากไข่”?

ทำไมต้อง “ฝากไข่”?
17/01/2021
ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation
19/10/2020
ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?
15/10/2020
รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก

รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก
29/10/2020
เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?

เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?
19/10/2020
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy)

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (Data Privacy)
13/07/2020
news

news
18/11/2019

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save