ในอตีดการแช่แข็งเซลล์ไข่ทำได้ยากมาก เพราะเซลล์ไข่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ และมีน้ำเป็นองค์หลัก เดิมทำการแช่แข็งโดยลดอุณหภูมิลงอย่างช้าๆ หรือ “Slow freezing “เมื่ออุณภูมิลดลงจนถึงจุดเยือกแข็ง จะเกิดผลึกน้ำแข็งขึ้นในเซลล์ไข่ ซึ่งทำอันตรายต่อโครงสร้างเซลล์ให้เสียหาย ทำให้อัตราความสำเร็จต่ำ
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคนิคให้ดีขึ้นโดยการแช่แข็งแบบผลึกแก้ว หรือ “Vitrification” โดยใช้สารรักษาความเย็นที่เข้ามาแทนที่น้ำในเซลล์และลดอุณหภูมิของเซลล์ไข่ได้รวดเร็วมาก จนไม่เกิดผลึกน้ำแข็งชึ้นภายในเซลล์ จึงทำให้อัตราความสำเร็จสูงมาก
เพื่อรักษาเซลล์ไข่ไว้ใช้ในอนาคต ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ หรือเพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น จำนวนไข่และคุณภาพจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้มีบุตรยาก เสี่ยงต่อภาวะเด็กมีโครโมโซมผิดปกติ เพิ่มภาวะแท้งบุตร ดังนั้นหากแช่แข็งไข่ไว้ในช่วงอายุที่เหมาะสม จะได้ไข่ที่คุณภาพดีและจำนวนที่พอเหมาะ ช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตรที่ปกติเมื่อมีความพร้อมได้
ฉีดยากระตุ้นเพื่อให้ได้เซลล์ไข่ที่มากพอ เฉลี่ย 8-10 วัน จากนั้นเก็บไข่ ผ่านทางช่องคลอด โดยใช้เข็มขนาดเล็ก คัดเอาไข่ที่อยู่ในระยะสมบูรณ์ เพื่อแช่แข็ง และเก็บรักษาไว้ในไนโตเจนเหลว หากจะนำไข่ที่แช่แข็งมาใช้ เพียงแสดงทะเบียนสมรส ก็สามารถละลายเซลล์ไข่พร้อมใช้ได้
สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเมื่อทำการแช่แข็งไข่ เมื่ออายุน้อยกว่า 35 ปี จะทำให้ได้จำนวนไข่และคุณภาพสูง หากอายุมากขึ้นเท่าไร อัตราการความสำเร็จของการมีบุตรจากการแช่แข็งไข่ จะลดน้อยลง และอาจจำเป็นต้องได้จำนวนไข่มากขึ้น เนื่องจากคุณภาพที่ได้ก็จะลดลงด้วย
ความสำเร็จขึ้นอยู่กับจำนวนและคุณภาพไข่ ณ ช่วงอายุที่แช่แข็ง ยิ่งอายุน้อยโอกาสสำเร็จจะสูง
ค่าเฉลี่ยหลังละลายไข่ สามารถนำมาใช้ได้ร้อยละ 80 -95 เจริญเป็นตัวอ่อนเมื่อปฎิสนธิร้อยละ 70-80 และหากอายุน้อยกว่า 35 ปี โอกาสตั้งครรภ์สำเร็จร้อยละ 40- 50 ในแต่ละครั้ง หากอายุ 35-37 ปี สำเร็จร้อยละ 30-35 , 38-40 ปี ร้อยละ 25-30 ,41-43 ปี ร้อยละ 20-22
ในอดีตต้องใช้ไข่ 100 ใบ ต่อการมีบุตร 1 ครั้ง ปัจจุบันดีขึ้นมาก โดยหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี แนะนำให้แช่แข็งไข่ 10-15 ใบ ต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง หากอายุมากกว่า35 ปี อาจต้องใช้จำนวนไข่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยโอกาสของการตั้งครรภ์เท่ากับร้อยละ 7 ต่อไข่ 1 ใบ
เด็กที่เกิดด้วยวิธีการแช่แข็งไข่คนแรกของโลก เกิดในปี พ.ศ.2529 ปัจจุบันแข็งแรงดี ช่วยยืนยันว่าการแช่แข็งไข่มีความปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสความผิดปกติของโครโมโซม หรือความพิการมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติซึ่งพบเพียง 1- 2 %
ตามหลักการ สามารถแช่แข็งไข่ไว้ได้นานตราบเท่าที่ยังมีสารรักษาความเย็นที่เพียงพอ ปัจจุบันข้อมูลที่เก็บแช่ไข่ไว้นาน 14 ปี เมื่อนำมาใช้ก็ประสบผลสำเร็จดี โดยทั่วๆไปแนะนำให้ใช้ไข่แช่แข็งก่อนอายุ 50 ปี เนื่องจากอายุเกินกว่านี้ตั้งครรภ์อาจพบภาวะแทรกซ้อนมาก
การแช่แข็งเซลล์ไข่นับว่าปลอดภัยมาก ไม่ได้ทำให้จำนวนไข่ในร่างกายลดน้อยลงหรือทำให้เข้าสู่วัยหมดระดูเร็วขึ้น เพียงแต่เป็นการนำไข่ที่จะสูญเสียในแต่ละรอบเดือนนั้นมาเก็บรักษาไว้ อาจพบภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินหรือการติดเชื้อซึ่งพบได้น้อยมาก
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า