เริ่มต้น;

การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer)

    การย้ายตัวอ่อน (Embryo Transfer)

    การย้ายตัวอ่อน (ET) จะทำหลังจากเก็บเซลล์ไข่และปฎิสนธิกับสเปิร์มเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถย้ายได้ตั้งแต่ตัวอ่อนระยะวันที่ 2 ถึงวันที่ 5 ขึ้นกับข้อบ่งชี้ในแต่ละราย ซึ่งเป็นการย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh ET) แต่ในรายที่ไม่สามารถย้ายได้ในรอบสด เช่น มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ OHSS, รอผลคัดกรองโครโมโซมในคู่สามีภรรยาที่มีความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรม หรือไม่สะดวกต่อการย้ายตัวอ่อนในรอบสด สามารถตัดสินใจย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็งได้ (Frozen-thawed ET) โดยไม่มีผลลดอัตราการฝังตัวของตัวอ่อน (Implantation Rate) อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical Pregnancy Rate) และอัตราการคลอดมีชีพ (Live Birth Rate) หรือเพิ่มอัตราการแท้ง (Miscarriage Rate)

    ข้อมูลจาก Society for Assisted Reproductive Technology (SART) รวบรวมข้อมูลในปี 2012
    ของการย้ายตัวอ่อนรอบสด และรอบแช่แข็งในไข่ของคู่สามีภรรยา แยกตามกลุ่มอายุ (ปี)

    Percentage of Transfers resulting in live births

    การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งในสตรีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ให้ผลดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด
    รวมถึงข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence base medicine) ชนิด Systematic review และ Meta-analysis ในสตรีที่มีอายุระหว่าง 27-33 ปี พบว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็งให้อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical and ongoing Pregnancy Rate) ดีกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด 32% และ 31% ตามลำดับ และอัตราการแท้งมีแนวโน้วน้อยกว่าการย้ายรอบสดแต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ1

    ขั้นตอนกระบวนการการย้ายตัวอ่อนทั้งในรอบสด และรอบแช่แข็งเหมือนกัน ต่างกันที่วิธีการเตรียมโพรงมดลูกก่อนการย้าย โดยในการย้ายตัวอ่อนรอบสดนั้น จะย้าย 2-5 วันหลังการเก็บไข่โดยการย้ายผ่านสายย้ายตัวอ่อนและใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการกำหนดตำแหน่งที่จะใส่ตัวอ่อน การย้ายตัวอ่อนไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ภายหลังการย้ายตัวอ่อนจะใช้ฮอร์โมนชนิดโปรเจสเตอโรนธรรมชาติ (Natural Progesterone) เพื่อพยุงการตั้งครรภ์ อาจเป็นชนิดเม็ด ชนิดเจลล์ สอดช่องคลอด รับประทานหรือให้ทั้งสองชนิดร่วมกัน

    การย้ายตัวอ่อนรอบแช่แข็งนั้นมี 2 วิธีคือ

    1. การย้ายรอบธรรมชาติ (Natural Frozen-thawed Embryo Transfer)

    จะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จากรังไข่ในการเตรียมโพรงมดลูก ไม่มีการใช้ยาฮอร์โมนจากภายนอกในการเตรียม จึงต้องมีการตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมน และอัลตราซาวทางช่องคลอดเพื่อคาดการวันไข่ตก เพื่อทำการย้ายตัวอ่อนตามระยะตัวอ่อนที่เลี้ยง

    2. การเตรียมโพรงมดลูกด้วยยา (Artificial or Medicated Embryo Transfer)

    เป็นการใช้ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) จากภายนอก เช่น ชนิดรับประทาน, ทา, แปะ หรือ สอดช่องคลอดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน อาจมียาฉีดเพื่อกดการทำงานของรังไข่ชั่วคราวในรายที่เตรียมโพรงมดลูกยาก ก่อนเริ่มยาฮอร์โมนเอสโตรเจน

    ในปัจจุบัน การเตรียมโพรงมดลูกในรอบธรรมชาตินั้น มีแนวโน้มให้ผลการตั้งครรภ์ที่เท่ากันหรือสูงกว่า แต่ข้อมูลยังไม่สรุปแน่ชัด ข้อมูลจากวารสารทางการแพทย์ ตีพิมพ์ในปี 2013 พบว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งในรอบธรรมชาติ ให้อัตราการตั้งครรภ์ (Clinical Pregnancy Rate and ongoing Pregnancy Rate) และอัตราการคลอดมีชีพ (live birth rate) ที่สูงกว่าการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งโดยการเตรียมโพรงมดลูกโดยฮอร์โมนจากภายนอก แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ2

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า