เริ่มต้น;

อิมซี่ เทคโนโลยีคัดอสุจิ

    อิมซี่ (IMSI) เทคโนโลยีคัดอสุจิด้วยกล้องกำลังขยายสูง 6,000-12,000 เท่า เพิ่มความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วสูงขึ้น

    IMSI (Intracytoplasmic Morphologically Selected Sperm Injection) อิมซี่เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการคัดเลือกอสุจิด้วยกล้องจุลทรรศน์ ที่มีกำลังขยายสูงตั้งแต่ 6,000 – 12,000 เท่า เพื่อให้ได้อสุจิที่มีลักษณะดี และเหมาะสมที่สุดมาทำการผสมกับเซลล์ไข่ต่อไป

    ช่วยเพิ่มความสำเร็จการทำเด็กหลอดแก้วสูงขึ้น เทคนิค IMSI นี้ จะช่วยให้สามารถมองเห็นรูปร่างลักษณะของอสุจิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยสามารถมองเห็น vacuole ที่หัวของอสุจิได้ ซึ่งการพบ vacuole ที่หัวของอสุจินั้นเป็นลักษณะที่บ่งชี้ว่า อสุจิตัวดังกล่าวอาจมีชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมที่แตกหัก (DNA fragmentation) การนำอสุจิลักษณะนี้ผสมเข้าไปในเซลล์ไข่ จะส่งผลทำให้ตัวอ่อนที่ผสมได้ไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้ไม่เกิดการฝังตัวในโพรงมดลูก หรือฝังตัวแล้วเกิดการแท้งได้ ซึ่งแตกต่างกับการทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) ที่ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายเพียง 200-400 เท่า เท่านั้น จึงจะไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดบริเวณส่วนหัวของอสุจิได้ดีนักเมื่อเทียบกับการทำ IMSI

    ในการทำ IMSI จะแบ่ง sperm ออกเป็น 3 class ดังนี้

    Class I Spermatozoa of good quality Class II Spermatozoa of worse quality Class III Spermatozoa of bad quality Class I เป็นกลุ่มของ sperm ที่มีรูปร่างปกติ ไม่มีvacuole หรือมี vacuole≤ 4% Class II เป็นกลุ่มของ sperm ที่มีรูปร่างปกติแต่มี vacuole >4% Class III เป็นกลุ่มของ sperm ที่มีรูปร่างผิดปกติ อาจจะไม่มีvacuoleหรือมีvacuoleบ้าง ในการคัดเลือก sperm จะเลือก sperm Class I ก่อน ถ้าหาไม่ได้จึงจะเลือก sperm Class II และ Class III ตามลำดับ

    ประโยชน์ของการทำ IMSI

    • เพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์หรือเพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก
    • เพิ่มปริมาณตัวอ่อนที่มีรูปร่างปกติ
    • เพิ่มอัตราการเจริญเป็น blastocyst
    • ลดภาวะแท้ง
    • ลดอัตราส่วนของตัวอ่อนที่หยุดการเจริญเติบโต

    IMSI เหมาะกับคนไข้กลุ่มใดบ้าง

    • คู่สมรสที่มีปัญหาด้านมีบุตรยากอันเกิดมาจากฝ่ายชาย เช่น– ฝ่ายชายมีความผิดปกติทางด้านจำนวนหรือคุณภาพของอสุจิ
      – มีผลการตรวจ DNA fragmentation ในปริมาณที่สูง
    • คู่สมรสที่เคยทำ IVF หรือ ICSI แล้วล้มเหลว
    • คู่สมรสที่เคยทำ IVF หรือ ICSI แล้วเกิดการแท้ง
    • คู่สมรสที่เคยมีอัตราการปฏิสนธิจากการทำ ICSI อยู่ในเกณฑ์ต่ำ

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า