Getting Started;

MACS Sperm

    MACS Sperm คืออะไร

    MACS คือ วิธีการคัดเลือก non-apoptotic sperm โดยที่ MACS จะจับกับสเปิร์มที่มี externalised phosphatidylserine (EPS) บนผิว ซึ่งเป็น marker ของ apoptotic sperm พบในสเปิร์มที่มี DNA fragmentation (sDNAfrag) Apoptotic sperm คือ สเปิร์มที่กำลังจะเกิดการตายของเซลล์ขึ้น ซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว (programmed cell death) มักเกิดกับเซลล์ที่มีความเสียหายต่อ DNA จนเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ เช่น สเปิร์มที่มี DNA damage หรือ DNA fragmentation 

    Sperm ที่มี DNA fragmentation ส่งผลต่อการพัฒนาการของตัวอ่อน

    สเปิร์มที่มี DNA fragmentation อาจมีรูปร่าง (morphology) ปกติได้ หลังจากมีการปฎิสนธิกับไข่ (Oocyte) ส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อน เช่น การพัฒนาเป็นบลาสโตซิสต่ำกว่าปกติ (low blastocyst development rate), อัตราการตั้งครรภ์ต่ำและโอกาสแท้งสูง จากการศึกษาเชิงประจักษ์ (evidence-base medicime) ชนิด Meta-analysis ในคู่สมรส 2,969 คู่ พบว่าในกลุ่มที่สเปิร์มเกิด DNA fragmentation สูงจะมีอัตราการแท้งสูงมากกว่าอยู่ที่ 2.16 เท่า, Risk ratio 2.16 (95% CI =1.54,3.03), เมื่อเทียบกับคู่สมรสที่มีสเปิร์ม DNA fragmentation ต่ำ (DNA fragmentation index, DFI น้อยกว่า 15-35% ถือว่าเกณฑ์ปกติ) สเปิร์มที่มี DNA fragmentation จะส่งผลต่อการพัฒนาการของตัวอ่อนในช่วงการเกิด embryonic genome activation หรือช่วงที่ตัวอ่อนระยะ cleavage (Day3 embryo)

    ผลทางคลินิก

    จากงานวิจัยหลายฉบับสรุปถึงประโยช์ของ MACS ไว้พอสมควร เช่น ลดจำนวนสเปิร์มที่มี apoptotic marker (MMP CP-9, EPS) ได้สเปิร์มที่มี oocyte penetration potential สูง สรุปได้ว่าการใช้ Sperm MACS นั้นสามารถคัดเลือกสเปิร์มที่มี DNA fragmentation ต่ำ เพื่อนำมาใช้ในขบวนการ IVF/ICSI มีการศึกษาชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร J Assist Reprod Genet ของปี 2014 ชนิด meta-analysis ในคู่สมรส 499 คู่ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างการเตรียมสเปิร์มแบบ MACS+DGC กับ DGC พบว่า ในกลุ่มสมรสที่ใช้ MACS+DGC นั้นมีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงกว่า 1.5 เท่า เมื่อเทียบกับการเตรียมสเปิร์มแบบ DGC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ

    ใครเหมาะที่จะใช้ Sperm MACS

    • ใช้ Sperm MACS ในคู่สมรสที่พิสูจน์แล้วว่าสเปิร์มมี DNA fragmentation index สูงจากวิธี TUNEL หรือ SCSA
    • คู่สมรสที่มีประวัติการทำ IVF/ICSI หลายครั้งแต่ไม่เคยสำเร็จ
    • คู่สมรสที่ ฝ่ายชายมี varicocele หรือ semen analysis พบความผิดปกติของ sperm parameter หลายอย่าง เช่น oligoasthenoteratozoospermia เป็นต้น

    โดยสรุป

    การคัดเลือกสเปิร์มโดยใช้ MACS ร่วมกับ DGC ซึ่งให้ผลดีต่อการคัดเลือกสเปิร์มแล้วได้สเปิร์มที่มีคุณภาพดี เช่น motility, viability และ morphology มี fertilisation potential ที่สูง ส่งผลให้เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์และลดอัตราการแท้ง

    เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    ยอมรับทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • เปิดใช้งานตลอด

    บันทึกการตั้งค่า