คุณผู้หญิงหลายท่านที่จะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก เมื่อเข้ามาปรึกษากับคุณหมอนั้นสิ่งที่คุณหมอมักจะแนะนำให้ตรวจก็คือ ฮอร์โมนที่ชื่อว่า AMH ซึ่งคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายหลายท่านอาจยังไม่เข้าใจว่าการตรวจฮอร์โมนชนิดนี้สามารถช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร วันนี้เรามาหาคำตอบกันเลยดีกว่าค่ะ

AMH คืออะไร? มาทำความรู้จักกันก่อน

AMH (Anti-Müllerian hormone) คือฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากไข่ในรังไข่ของคุณผู้หญิง โดยบอกได้ถึงจำนวนไข่และความสามารถในการทำงานของรังไข่ อีกทั้งยังสามารถบอกได้ถึงโอกาสการตั้งครรภ์ได้

ทำไมต้องรีบตรวจ AMH

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การมีบุตรยากนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีบุตรยากอันดับต้นๆ นั่นก็คืออายุที่มากขึ้น จึงทำให้โอกาสมีลูกน้อยลงตามไปด้วย นั่นเป็นเพราะว่า ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ที่คุณผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือนนั้น รังไข่จะมีไข่มากถึง 3-4 แสนฟอง และในแต่ละเดือนจะมีไข่เพียง 1 ฟองที่ตกออกมาเพื่อใช้ในการปฏิสนธิเท่านั้น และเมื่ออายุมากขึ้น จำนวนไข่ในรังไข่ก็น้อยลง ในขณะเดียวกันคุณภาพของไข่ก็ลดลงตามไปด้วย ดังนั้นคุณผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปจึงอาจประสบปัญหามีบุตรยากนั่นเองค่ะ

การตรวจ AMH เป็นการตรวจที่ทำให้รู้ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ทำให้คุณผู้หญิงวางแผนได้ว่าควรรีบมีลูกตอนนี้หรือสามารถปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อยๆ ก่อนได้ อีกทั้งในกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรนั้นจะใช้ค่าบ่งชี้ของ AMH ในการทำนายว่ารังไข่จะสามารถตอบสนองการกระตุ้นไข่ด้วยยาที่ใช้มากแค่ไหน และควรใช้ปริมาณยามากน้อยเท่าไหร่เพื่อให้มีการผลิตไข่ออกมาในปริมาณที่มากพอ

การตรวจ AMH เหมาะกับใคร?

การตรวจ AMH นี้ ไม่ได้เหมาะกับคุณผู้หญิงที่วางแผนมีบุตรแล้วอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไปเท่านั้น แต่เหมาะกับคุณผู้หญิงที่วางแผนมีบุตรทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องมีอายุมากกว่า 35 ปีด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีคุณผู้หญิงหลายท่านที่ประสบกับภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Insufficiency: POI) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการมีบุตรยาก โดยภาวะนี้จะไม่มีอาการแสดงออกมาไม่ชัดเจน อีกทั้งยังเกิดขึ้นได้กับคุณผู้หญิงที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นโรคทางพันธุกรรม รับการรักษาด้วยการใช้ยาคีโมบำบัดได้อีกด้วย ซึ่งการตรวจ AMH จะทำให้ทราบภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด และใช้ในการวางแผนภาวะมีบุตรยากได้

วิธีตรวจ AMH

หลายคนอาจคิดว่าการตรวจ AMH อาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก แต่ความจริงนั้นเป็นการตรวจที่ง่ายๆ เพียงแค่เจาะเลือด ซึ่งคุณผู้หญิงไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการเจาะเลือด ก็สามารถเจาะเลือดได้ทั้งในช่วงก่อน-หลัง และช่วงที่มีประจำเดือนด้วยเช่นกันค่ะ

ข้อดีของการตรวจ AMH ทำให้รู้อะไรบ้าง?

  • ช่วยให้คุณหมอประเมินจำนวนไข่ที่อยู่ในรังไข่ ซึ่งสามารถบอกโอกาสในการประสบความสำเร็จในการรักษาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
  • ช่วยให้คุณหมอประเมินความสามารถในการทำงานของรังไข่ได้ว่าควรให้ยาในการกระตุ้นไข่แก่คุณผู้หญิงมากน้อยเพียงใด
  • ช่วยให้คุณหมอหาแนวทางในการแนะนำวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิงได้มากขึ้น
  • ช่วยประเมินระยะเวลาที่เหมาะสมในการวางแผนการตั้งครรภ์ให้กับคุณผู้หญิง โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่อายุเข้าสู่วัยเลข 3
  • เป็นตัวช่วยในการประเมินหาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Ploycystic Ovary Syndrome: POCS) ซึ่งทำให้มีบุตรยากได้
  • เป็นตัวช่วยในการประเมินหาภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Insufficiency: POI) ซึ่งเป็นหนหนึ่งในสาเหตุของการมีบุตรยากก่อยวัยอันควร

การตรวจ AMH เป็น หนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้ ช่วยให้คุณหมอสามารถวางแผนการรักษาให้กับคุณผู้หญิงได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง ซึ่ง SAFE Fertility Group เราจึงให้คำปรึกษาหรือแนะนำให้คุณผู้หญิงเข้ารับการตรวจ AMH เพื่อใช้ในการวางแผนมีบุตรที่เหมาะสมไปด้วยกันค่ะ

เรียบเรียงโดย: ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ SAFE Fertility Group

Recent Posts

News

News
26/05/2023
เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

เคล็ดไม่ลับ การเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตร และตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์
21/10/2022
SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน

SAFE Fertility Center ศูนย์ผู้มีบุตรยากแห่งแรกในไทย และแห่งที่ 2 ในอาเซียน
27/04/2022
อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก

อยากมีลูก ไม่ใช่เรื่องยาก
08/06/2022
SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน

SAFE Fertility Center ไม่เพียงแค่ให้บริการแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) เท่านั้น แต่เรายังเป็นสถาบันฝึกอบรมแช่แข็งไข่ระดับสากลด้วยเช่นกัน
02/04/2021
จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)

จะ “ฝากไข่” หรือ ทำ “IVF” SAFE แนะนำให้คุณผู้หญิงตรวจ AMH (Anti-Müllerian hormone)
31/03/2021
ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?

ทำไมต้องตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน?
15/07/2022
“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?

“มีลูกยาก” หรือจะ “ฝากไข่” ทำไมคุณหมอแนะนำให้ตรวจ AMH (Anti-Mullerian Hormone) ?
17/02/2021
มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)

มีอะไรบ้างที่คุณผู้หญิงต้องรู้? เมื่อวางแผน “ฝากไข่” (Egg Freezing)
01/02/2021
“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้

“ดาวน์ซินโดรม” แก้ไม่ได้ แต่ “รู้ก่อน” ได้
10/02/2021
อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”

อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังการ “เก็บไข่”
08/02/2021
5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group

5 ขั้นตอนการ “ฝากไข่” ที่ SAFE Fertility Group
05/02/2021
คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้

คุณผู้หญิง “ฝากไข่” คุณผู้ชาย “ฝากสเปิร์ม” ปี 2022 ปีที่วางแผนได้
03/02/2021
7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”

7 วิธี ทำอย่างไรถึงจะได้ไข่ดีๆ ? เมื่อต้องเตรียมตัว “ฝากไข่”
30/01/2021
ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’

ปี 2022 ปีที่ ‘อายุมากขึ้น’ แต่ ‘ไข่น้อยลง’
29/01/2021
“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง

“ฝากไข่” ไว้ก่อนท้องทีหลัง
26/01/2021
พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?

พร้อมตั้งครรภ์ จะดูแลตัวเองอย่างไรในช่วงที่ COVID-19 กลับมาอีกครั้ง?
23/01/2021
“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?

“ฝากไข่” ก่อนอายุ 35 ปี ดีอย่างไร?
20/01/2021
ทำไมต้อง “ฝากไข่”?

ทำไมต้อง “ฝากไข่”?
17/01/2021
ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation

ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ด้วย Sperm DNA Fragmentation
19/10/2020
ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?

ตรวจฮอร์โมน AMH ช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้อย่างไร?
15/10/2020
รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก

รู้หรือไม่? น้ำหอมทำให้มีลูกยาก
29/10/2020
เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?

เคยแท้ง ไม่มีลูกสักที ทำไมต้องตรวจ Antiphospholipid?
19/10/2020
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy)

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  (Data Privacy)
13/07/2020
news

news
18/11/2019

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save